กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ขององค์การนาซา ตรวจพบโมเลกุลสารประกอบอินทรีย์ “เอทานอล” (Ethanol) รอบดาวฤกษ์อายุน้อย 2 ดวงที่ชื่อว่า IRAS 2A และ IRAS 23385
แม้ว่าจะยังไม่มีดาวเคราะห์ก่อตัวรอบดาวฤกษ์เหล่านั้น แต่โมเลกุลเหล่านี้และโมเลกุลอื่น ๆ ที่เว็บบ์ตรวจพบถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างโลกที่อาจเอื้อให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติใช้เครื่องมืออินฟราเรดระยะกลาง (MIRI) ของเว็บบ์เพื่อระบุสารประกอบน้ำแข็งหลายชนิดที่ประกอบด้วยโมเลกุลอินทรีย์เชิงซ้อน (COM) เช่น เอทานอล และกรดอะซิติก
วิล โรชา จากมหาวิทยาลัยไลเดนในประเทศเนเธอร์แลนด์ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “การค้นพบนี้มีส่วนทำให้เกิดคำถามข้อหนึ่งที่มีมายาวนานในด้านดาราศาสตร์เคมี นั่นคือ แหล่งกำเนิดของ COM ในอวกาศคืออะไร? พวกมันถูกสร้างขึ้นในระหว่างที่เป็นก๊าซหรือน้ำแข็ง? การตรวจจับ COM ในน้ำแข็งได้แสดงให้เห็นว่า ปฏิกิริยาเคมีในสถานะของแข็งสามารถสร้างโมเลกุลที่ซับซ้อนได้”
เนื่องจาก COM หลายตัว รวมถึงที่ตรวจพบในสถานะของแข็งในการวิจัยนี้ เคยถูกตรวจพบในสถานะก๊าซอุ่น ทำให้ปัจจุบันเชื่อกันว่า พวกมันเกิดจากการระเหิดของน้ำแข็ง ดังนั้น การตรวจพบ COM ในน้ำแข็งทำให้นักดาราศาสตร์มีความหวังเกี่ยวกับความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโมเลกุลอื่น ๆ ในอวกาศ
นักวิทยาศาสตร์ยังกระตือรือร้นที่จะสำรวจว่า COM เหล่านี้ถูกส่งไปยังดาวเคราะห์มากน้อยเพียงใดในระยะต่อมาของการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ เชื่อกันว่า COM ในน้ำแข็งเย็นถูกส่งไปยังดาวเคราะห์ที่กำลังก่อตัวได้ง่ายกว่าโมเลกุลก๊าซอุ่น
COM ที่เป็นน้ำแข็งเหล่านี้จึงสามารถรวมเข้ากับดาวหางและดาวเคราะห์น้อยได้ ซึ่งอาจชนกับดาวเคราะห์ที่กำลังก่อตัว และกลายเป็นองค์ประกอบที่อาจทำให้สิ่งมีชีวิตถือกำเนิดขึ้นมาได้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังตรวจพบโมเลกุลอื่นนอกจากเอทานอล เช่น กรดฟอร์มิก (กรดทำให้เกิดอาการแสบร้อนจากการถูกมดต่อย) มีเทน ฟอร์มาลดีไฮด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ การวิจัยชี้ให้เห็นว่าสารประกอบที่มีซัลเฟอร์ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมบนโลกดึกดำบรรพ์
สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ IRAS 2A มีลักษณะเป็นดาวฤกษ์มวลน้อย ดังนั้น IRAS 2A จึงอาจคล้ายคลึงกับระยะเริ่มต้นของระบบสุริยะของเราเอง ด้วยเหตุนี้ สารเคมีที่พบรอบ ๆ ดาวฤกษ์นี้ก็อาจเคยอยู่ในระยะแรกของการพัฒนาระบบสุริยะของเราเช่นกัน และถูกส่งมายังโลกดึกดำบรรพ์ในเวลาต่อมา
เอไวน์ ฟาน เดชุก จากมหาวิทยาลัยไลเดน หนึ่งในผู้ประสานงานของทีม กล่าวว่า “โมเลกุลทั้งหมดเหล่านี้สามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของดาวหางและดาวเคราะห์น้อย และในที่สุดก็ระบบดาวเคราะห์ใหม่ เมื่อสสารน้ำแข็งถูกส่งเข้าสู่ดาวเคราะห์ที่กำลังก่อตัว”
เรียบเรียงจาก NASA
เปิดใจ “ทักษิณ” ให้สัมภาษณ์สื่อครั้งแรก ยันไม่บังคับลูกในสนามการเมือง!
สรุป 8 ทีมสุดท้าย ยูโรป้า ลีก ฤดูกาล 2023-2024
“บิ๊กเต่า” ไม่กังวลโดน “บิ๊กโจ๊ก” ฟ้องหมิ่น ลั่น เรื่องนี้อีกยาว