นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในระยะต่อไป ธปท. จะออกแนวนโยบายการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเชิงโครงสร้างอย่างยั่งยืน (directional paper) ภายในปี 2565 เพื่อสื่อสารทิศทาง การดำเนินงานที่ ธปท. จะผลักดันในอนาคต และแนวทางการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนการแก้ปัญหาให้ได้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เช่น ออกหลักเกณฑ์ responsible lending ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งการปล่อยหนี้ใหม่ที่มีคุณภาพ และการให้ข้อมูลที่ลูกหนี้ควรรู้ เพื่อปรับพฤติกรรมให้เกิดวินัยทางการเงิน และลดการก่อหนี้เกินตัว โดยหนี้ครัวเรือนข้อมูลไตรมาส 2 ปี 65 อยู่ที่ 88% ของจีดีพี ขยับเพิ่มจาก 80% ในปี 62 และ 60% ในปี 53
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ธปท.และกระทรวงการคลังได้ออกมาตรการทางการเงินที่หลากหลาย ภาคการเงินส่งผ่านความช่วยเหลือลูกหนี้ โดยในปี 63 ช่วยลูกหนี้ 12.5 ล้านบัญชี คิดเป็น 7.2 ล้านล้านบาท หรือ 40% ของสินเชื่อรวม ขณะนี้เดือน มิ.ย.65 ทยอยลดเหลือ 3.9 ล้านบัญชี คิดเป็น 3 ล้านล้านบาท หรือ 14% ของสินเชื่อรวม ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง และค่าครองชีพสูงอาจกระทบต่อลูกหนี้ทำให้มีปัญหาต่อการฟื้นตัวในระยะต่อไปได้
สำหรับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมี 3 องค์ประกอบ คือ 1.ทำอย่างครบวงจร สอดคล้องกับลักษณะและสาเหตุของปัญหาในแต่ละช่วงของการเป็นหนี้ โดยตั้งแต่ก่อนก่อหนี้ ต้องสร้างวินัยทางการเงินให้ลูกหนี้ ขณะที่เจ้าหนี้ต้องปล่อยหนี้อย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ และให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้กู้ เช่น การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (responsible lending) ขณะเป็นหนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ต้องสร้างกลไกช่วยลูกหนี้ที่มีศักยภาพให้ชำระหนี้ได้เร็วขึ้น เพื่อไม่ให้หนี้พอกพูน เช่น กลไก risk-based pricing ที่จะช่วยให้ลูกหนี้ดีได้รับดอกเบี้ยลดลงเหมาะกับความเสี่ยงของตน รวมทั้งมีแนวทาง refinance หนี้ที่สะดวกขึ้นในต้นทุนที่เหมาะสม และเมื่อมีปัญหาชำระหนี้ ควรมีกลไกสนับสนุนการแก้หนี้ที่เป็นมาตรฐาน เพื่อช่วยให้ลูกหนี้หลุดจากวงจรหนี้ได้จริง เช่น การไกล่เกลี่ยหนี้นอกศาล การแก้หนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย
2.ทำอย่างถูกหลักการ โดยพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม รู้ว่าอะไรควรทำ และไม่ควรทำ (Do’s and Don’ts) ซึ่งหลัก ๆ คือ (1) ต้องแก้หนี้ให้ตรงจุด สอดคล้องกับปัญหาของลูกหนี้ ไม่ทำแบบวงกว้างเพราะภาคการเงินจะมีทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ต้องการจริง ๆ ได้น้อยลง
(2) ไม่สร้างภาระเพิ่มให้กับลูกหนี้ในอนาคต เช่น พักชำระหนี้ไปเรื่อย ๆ จนลูกหนี้มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น (3) ไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เช่น ลบหรือแก้ประวัติสินเชื่อของลูกหนี้ จนสถาบันการเงินไม่รู้จักลูกหนี้และไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ และ (4) เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องร่วมมือและตั้งใจจริงในการแก้ไขหนี้ เช่น เจ้าหนี้ต้องช่วยเหลือให้เหมาะกับความสามารถในการชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ต้องเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้การแก้หนี้สำเร็จคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ซึ่งการดำเนินการภายใต้หลักการเหล่านี้ ต้องใช้เวลา เพราะหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน และเกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากฝั่งเจ้าหนี้ และลูกหนี้ จึงไม่สามารถแก้ได้ด้วยมาตรการเดียว แต่ต้องอาศัยมาตรการที่หลากหลาย และดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง ซึ่งการทำอะไรที่ดูดี หรือดูเร็ว อาจไม่ยั่งยืน
3.บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคการเงินในฐานะเจ้าหนี้ ที่ต้องให้สินเชื่อใหม่โดยคำนึงถึงศักยภาพลูกหนี้ในการชำระหนี้มากขึ้น พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่ไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินตัว ภาครัฐ มีบทบาทในการสร้างรายได้และเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านข้อมูล ที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ภาคเอกชน ยกระดับบทบาทนายจ้างในการดูแลปัญหาหนี้ของลูกจ้าง และลูกหนี้ ต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน ก่อหนี้โดยคำนึงถึงศักยภาพของตนเอง และมีวินัยในการชำระหนี้